วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

เราเตอร์ (Router)

     การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปจะต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการส่ง Packet ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปซึ่ง packet เหล่านี้จะมีลักษณะที่จำเพาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์นี้เราจะเรียกว่า เราเตอร์ (Router)

    ถ้าจะเปรียบเทียบเราเตอร์ (Router) เราคงเปรียบเทียบได้เหมือนกับถนนที่เป็นเส้นทางในการเดินทางของรถยนต์เพราะเราเตอร์ทำหน้าที่เหมือนกับถนนเมื่อข้อมูลวิ่งเข้ามาในเราเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์และถูกส่งไปยังปลายทาง โดยเราเตอร์นั้นจะมีซอฟแวร์ในการควบคุมการทำงานอยู่ซึ่งเราเรียกซอฟแวร์นี้ว่า Internetwork Operating System (IOS) โดยเราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเราเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกันซึ่งการการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปจะต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการส่ง Packet ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปซึ่ง packet เหล่านี้จะมีลักษณะที่จำเพาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์นี้เราจะเรียกว่า เราเตอร์ (Router)ทำงานแบบนี้จะเหมือนกับอุปกรณ์สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจก IPได้ซึ่งเราเตอร์ก็สามารถแจก IP ได้เหมือนกัน ลักษณะของเราเตอร์จะเป็นตัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่ใหญ่นัก ซึ่งดีไซน์ของเราเตอร์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตต้องการออกแบบให้มีดีไซน์แบบไหน แต่สิ่งที่ต้องมีเป็นมาตรฐานเลยก็คือช่อง Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว

ตัวอย่างการต่อพ่วงเราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
    ในปัจจุบันเราเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานมากยิ่งขึ้นซึ่งเมื่อก่อนถ้าจะใช้เราเตอร์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องมี โมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเสียก่อนแล้วค่อยต่อสายนำสัญญาณมาที่เราเตอร์ และเราเตอร์ก็จะส่งข้อมูลต่างๆให้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องลูกข่าย ซึ่งเราสามารถแบ่งเราเตอร์ตามความสามารถได้เป็น 4 ชนิดด้วยกัน


    1. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ชนิดนี้เป็นเราเตอร์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง การทำงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆเสริมการทำงานด้วย แต่ข้อดีของเราเตอร์แบบนี้คือทำงานตามหน้าที่ได้อย่างเต็มที่และไม่ค่อยมีข้อผิดพลาดในการทำงาน
     2. โมเด็มเราเตอร์ (Modem Router/ ADSL Modem) โมเด็มประเภทนี้จะเห็นอยู่ในท้องตลาดอย่างมาก เป็นการผนวกความสามารถของโมเด็มและเราเตอร์ไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้สะดวกสบายในการใช้งาน โดยโมเด็มเราเตอร์นี้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ด้วยตัวเอง และกระจายข้อมูลต่าง ๆไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ได้ในทันที ส่วนมากแล้วโมเด็มเราเตอร์จะมี Port LAN มาให้ 4 ช่องด้วยกันซึ่งเป็นพื้นฐานของอุปกรณ์ชนิดนี้
    3. ไวร์เลสโมเด็มเราเตอร์ (Wireless ADSL Modem Router) เราเตอร์ชนิดนี้จะทำงานได้เหมือนกับโมเด็มเราเตอร์ทุกประการ เพียงแต่มีความสามารถในการปล่อยสัญญาณ wireless ให้กับอุปกรณ์ที่สามารถรับ wireless ได้ โดยพื้นฐานของอุปกรณ์ชนิดจะมี Port LAN 4 พอร์ต และมีเสาสัญญาณที่ใช้ในการกระจายสัญญาณไวไฟจำนวน 2 เสา Router ประเภทนี้ถือว่ามีความสะดวกสบายมากและในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในตลาด
     4. ไวร์เลสเราเตอร์ (Wireless Router) เป็นเราเตอร์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเองเหมือนกับประเภทแรก แต่เราเตอร์ประเภทนี้สามารถกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ได้รับด้วยระบบ wireless ได้และยังกระจายสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณจาก Port Lan ทั้ง 4 พอร์ตที่มีการติดตั้งมากับตัวอุปกรณ์ด้วย นอกจากจะเป็น wireless Router แล้วเราเตอร์ประเภทยังสามารถเป็น Access Point ได้อีกด้วย




ตัวอย่างเราเตอร์แบบใช้สาย

     หลักการทำงานของเราเตอร์ (Router)
    จากที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้นว่าเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกันและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยหน้าที่หลักของเราเตอร์นั้นก็คือการส่งข้อมูลในช่องทางที่ดีที่สุดให้กับปลายทางที่มีการระบุไว้ใน packet ข้อมูล โดยการทำงานของ Router จะใช้โปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX เป็นต้น


     เมื่อมีการส่งข้อมูลให้กับเราเตอร์ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เราเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลที่ใช้โปรโตคอลระดับใด และเพื่อหาปลายทางที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อทำการตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย เราเตอร์ก็จะส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ซึ่งถือว่าจบกระบวนการทำงานของเราเตอร์

ตัวอย่างเราเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Router)

     ประโยชน์ของเราเตอร์ (Router)
     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่จัดการความเรียบร้อยของเครือข่ายและสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีความหลากหลายให้สามารถใช้งานรวมกันได้ซึ่งเราสามารถแบ่งประโยชน์ของเราเตอร์ได้ดังนี้

    1. เราเตอร์สามารถช่วยเพิ่มการใช้งานของระบบเครือข่ายได้ เพราะเราเตอร์หนึ่งตัวสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้มากตามลักษณะการใช้งาน
    2. เราเตอร์ที่สามารถปล่อยสัญญาณไวไฟหรือไวท์เลซได้นั้นยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายนำสัญญาณและทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์ยังมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่าน wireless อีกด้วย
     3. เราเตอร์บ้างรุ่นมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสมาให้ด้วยทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์จะสามารถป้องกันข้อมูลที่มีการส่งผ่านเราเตอร์ได้ด้วย

การเลือกซื้อเราเตอร์เราควรเลือกซื้อตามลักษณะการใช้งานซึ่งส่วนมากแล้วจะนิยม ไวร์เลสโมเด็มเราเตอร์ (Wireless ADSL Modem Router) ซึ่งมีความสามารถครบครั้น โดยส่วนมากเราเตอร์ประเภทนี้จะถูกเรียกว่า All in one เพราะความสามารถที่สามารถเป็นได้ทั้งโมเด็ม เราเตอร์และตัวกระจายสัญญาณ Wireless ภายในตัวเดียวกันที่สำคัญราคาของเราเตอร์ประเภทนี้ก็ไม่ได้สูงมากด้วย

ที่มารูปภาพ http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/router/









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น