ฮับทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆเข้าด้วยกัน
ลักษณะภายนอกของตัวฮับประกอบด้วยพอร์ต RJ-45 (ฮับบางรุ่นจะมีพอร์ตไฟเบอร์ด้วย)
ซึ่งจะใช้เป็นจุดต่อสายสัญญาณไปยังแลนการ์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆบนระบบ
ความเร็วการรับส่งข้อมูลของฮับมีตั้งแต่ 10 Mbps และ 100
Mbps ฮับขนาดเล็ก (Small HUB)ฮับขนาดเล็กจะมีจำนวนพอร์ต
RJ-45 ประมาณ 4,5,8 ,12 และ 16 พอร์ตแล้วแต่รุ่น
ฮับขนาดเล็กนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากประมาณ
3 -16 เครื่อง
หากคุณกำลังเริ่มต้นสร้างระบบเครือข่ายขึ้นมาใช้งานโดยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยๆ
ผมขอแนะนำให้คุณใช้ฮับขนาดเล็กนี้แหล่ะเพราะประหยัดเงินดี
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhGGuZDAHaYcd4P6Z490O8O5qOjNsFjgFjKM96aeQlP7lsu8BoQK4uW5NNAIbcBQbo8_rll1cHBZYUfQGWX06O98X2IgTsyMpN5wdL7YTXkBwzfnQ-BDtmSncJdJbsEo09odZ4OJeKO-H5K/s320/11+%25281%2529.jpg)
ฮับขนาดเล็กแบบ 8
และ 16 พอร์ต RJ-45
ฮับขนาดใหญ่ (Rack
mount HUB)
ฮับขนาดใหญ่หรือเรียกอีกอย่างว่า "แร็คเม้าส์ฮับ " มีขนาดความกว้าง 19 นิ้ว สามารถนำไปติดตั้งในตู้แร็คขนาดมาตรฐานได้ จำนวนพอร์ต RJ-45 ก็มากขึ้น มีตั้งแต่ 12,16,24 ถึง 48 พอร์ต ฮับประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากประมาณ 12 เครื่องขึ้นไป ฮับขนาดใหญ่บางรุ่นจะมีพอร์ตไฟเบอร์ หรือมีสล๊อตใส่ไฟเบอร์มอดูล (Fiber Module) สำหรับใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง
ฮับขนาดใหญ่หรือเรียกอีกอย่างว่า "แร็คเม้าส์ฮับ " มีขนาดความกว้าง 19 นิ้ว สามารถนำไปติดตั้งในตู้แร็คขนาดมาตรฐานได้ จำนวนพอร์ต RJ-45 ก็มากขึ้น มีตั้งแต่ 12,16,24 ถึง 48 พอร์ต ฮับประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากประมาณ 12 เครื่องขึ้นไป ฮับขนาดใหญ่บางรุ่นจะมีพอร์ตไฟเบอร์ หรือมีสล๊อตใส่ไฟเบอร์มอดูล (Fiber Module) สำหรับใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง
ฮับขนาดใหญ่แบบ 16
พอร์ต และ 24 พอร์ต RJ-45
ไฟเบอร์มอดูลแบบ ST
และแบบ SC
ตู้ Rack ขนาดความกว้างมาตรฐาน 19 นิ้ว
การทำงานของ HUP
Hub เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณในระบบเครือข่ายประเภทเดียวกันเท่านั้น
ไม่สามารถเชื่อมต่อต่าง Protocol ได้
เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางในการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub,
Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ
เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ
มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ
ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง
เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้นฮับ(HuB)เป็นอุปกรณ์รวมสายของ
10BASE T ซึ่งมีรูปร่าง (Topology) แบบดาว
(Star) โดยการทํางานภายในเป็นแบบบัสนั่นเอง HUB ถูกใช้ในงาน LAN เกือบจะทุกที่มีการติดตั้งระบบนี้
ราคามีตั้งแต่หลักพันบาทจนถึงเป็นแสน ฉะนั้นการเลือกจึงขึ้นอยู่กับงบประมาณ
และความคงทนของอุปกรณ์ HUB ที่ไม่ดีมักจะทํ
าให้การสื่อสารกับเครื่องอื่นมีปัญหา หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า อาการ“ฮับแฮ้ง”
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านนี้รุดหน้าไปมาก ฮับดี ๆ หลายตัวที่เป็น ฮับอัจฉริยะ IntelligenceHUB
หรือ Smart HUB) ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อสามารถควบคุมดูแลระบบเครือข่าย
โดยมี Network Management Module เช่น SNMP Module และสามารถใช้กับทคโนโลยีรุ่นใหม่ได้เสมอเพียงแต่ซื้อ Interface
Card มาเปลี่ยนเท่านั้น
ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานแบบไม่คิดอะไรมาก
รับข้อมูลอะไรเข้ามาก็ส่งข้อมูลนั้นแพร่กระจาย (Broadcast) ออกไปยังทุกๆพอร์ตโดยไม่รู้จุดหมายปลายทางของผู้รับว่าอยู่ที่ใด
ผู้ส่งจะส่งข้อมูลผ่านฮับไปยังผู้รับแบบแชร์เส้นทางกันหรือที่เรียกว่าเป็นการแชร์แบนด์วิดท์
(Bandwidth) นั้นเอง การจำลองการรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆผ่านฮับ
PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง Server
และ PC2 ต้องการส่งข้อมูลไปพิมพ์ยัง Network
Printer
PC1 เริ่มส่งข้อมูลไปยัง Server ข้อมูลต่างๆที่ส่งออกมาจาก PC1 ถูกลำเลียงผ่านสายสัญญาณจนไปถึงฮับ
เมื่อฮับรับข้อมูลเข้ามาแล้วก็จะส่งข้อมูลเหล่านั้นแพร่กระจายออกไปยังทุกพอร์ตที่ตนเองมีอยู่
ข้อมูลถูกลำเลียงผ่าน สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์ทุกๆตัว
Server ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลก็จะได้รับข้อมูลที่ PC1 ส่งมาให้แล้วข้อมูลนำไปประมวลผล และในขณะเดียวกันนั้นอุปกรณ์ อื่นๆก็ได้รับข้อมูลนั้นด้วยเช่นกันแต่จะไม่นำข้อมูลไปประมวลผลเนื่องจากไม่ใช่ข้อมูลของตนเอง(ตรวจสอบจาก Mac Address ผู้รับใน Frame ข้อมูล)
ขั้นตอนการส่งข้อมูลจาก PC2
ไปพิมพ์ยัง Network Printer จะทำในลักษณะเดียวกัน
PC1 (แต่ต้องรอให้ PC1 ส่งข้อมูล
เสร็จสิ้นก่อน)
เมื่อฮับรับข้อมูลเข้ามาแล้วก็จะส่งข้อมูลเหล่านั้นแพร่กระจายออกไปยังทุกพอร์ตที่ตนเองมีอยู่
ข้อมูลถูกลำเลียงผ่าน สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์ทุกๆตัว
Network Printer ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลก็จะได้รับข้อมูลที่
PC2 ส่งมาให้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลไปพิมพ์
การส่งข้อมูลของ PC1 และ PC2 จะต้องกระทำคนละเวลา ไม่สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวได้เสมือนกับว่าทั้งสองต้องอาศัยการแชร์เส้นทางสำหรับส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทาง ดังนั้นระบบที่ใช้ฮับเป็นตัวกลางเชื่อมโยงอุปกรณ์ถ้ายิ่งมีเครื่อง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มากเท่าไหร่ประสิทธิภาพของระบบก็จะยิ่งลดลงมาขึ้นเท่านั้น
การเลือกซื้อฮับ
ประการแรกคือจำนวนพอร์ตของฮับต้องมีเพียงพอสำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ของคุณได้ทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่นคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่อง
คุณควรจะเลือกซื้อฮับที่มีจำนวนมากกว่า 5 พอร์ตขึ้นไปเช่นฮับ
8 พอร์ต หรือ 12 พอร์ต สาเหตุที่ควรซื้อฮับให้มีจำนวนพอร์ตมากว่าจำนวนอุปกรณ์
เนื่องจากพอร์ตที่เหลือคุณสามารถนำอุปกรณ์ใหม่มาเชื่อมโยงเพิ่มเติมได้ในอนาคตหรือหากเกิดกรณีพอร์ตที่ใช้งานเสีย
คุณยังมีพอร์ตสำรองใช้ทดแทนได้อีก
ประการที่สองเรื่องความเร็วการรับส่งข้อมูลของฮับต้องสอดคล้องกับความเร็วการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์
เช่นอุปกรณ์ของคุณสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10
Mbps ฮับที่เลือกซื้อก็ต้องรองรับความเร็ว 10 Mbps หรือถ้าอุปกรณ์มีความเร็วรับส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แน่นอนครับว่าฮับที่คุณเลือกซื้อก็จะต้องรองรับความเร็วที่
100 Mbps ด้วยเช่นกัน
ประการที่สามหากระยะทางเชื่อมโยงอุปกรณ์ไกลเกินว่า
100
เมตร เช่น 400-2,000 เมตร
คุณต้องหันมาใช้การเชื่อมโยงอุปกรณ์ด้วยสายใยแก้นำแสง
ดังนั้นฮับที่คุณเลือกซื้อจะต้องมีพอร์ตไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์มอดูล
สำหรับรองรับการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสง (อุปกรณ์ปลายทางก็ต้องมีพอร์ตไฟเบอร์ หรือ
ไฟเบอร์มอดูลสำหรับเชื่อมโยงเช่นกัน)
หากคุณต้องการสร้างเครือข่ายที่อุปกรณ์ในระบบมีความเร็วรับส่งข้อมูล 10 Mbps และ 100 Mbps ทำงานร่วมกัน คุณจะต้องเลือกซื้อฮับแบบ Dual-Speed (10/100) สำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้เข้าด้วยกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น